วันจันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

แนวทางในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย

แนวทางในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
วัฒนธรรมรมไทยเป็นสิ่งที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์และสั่งสมมานจนเป็นมรดกมาสู่อนุชนรุ่นหลัง
และเป็นส่วนหนึ่งของวิถีการดำเนินชีวิตของสังคมไทย คนไทยทุกคนจึงมีหน้าที่ร่วมกันที่ต้อง
ช่วยกันอนุรักษ์สืบสานไปดังนั้นองค์ประกอบของภาคเอกชน จึงควรร่วมมือกันโดยแบ่งเป็นระดับดังนี้
  
1.ระดับชาติ องค์การของรัฐมีหน้าที่รับผิดชอบต่องาวัฒนธรรมของชาติโดยตรงต้องกำหนดโยบาย
ให้สนับสนุน ส่งเสริมเอาจริงเอาจัง รวมทั้งสื่อมวลชนต้องเผยแผ่ประชาสัมพันธ์ให้เห็นคุณค่าและ
ความสำคัญในวัฒนธรรมชาติ เพราะเป็นหน้าที่ของทุกคน

2.ระดับท้องถิ่น องค์กรในท้องถิ่นต้องส่งเสริประชาชนเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมไทยโดยช่วยกัน
คิดค้น เผยแพร่ นำภูมิปัญญาหรือปราชญ์ท้องถิ่น เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีนอกจากนั้นยังเป็นประการ
ประชาสัมพันธ์ท้องถิ่นตนด้วย
  
3.ระดับบุคคล บุคลากรทุกคนไมว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐหรือเอกชน แม้แต่ผู้ทำงานส่วนตัวสามารถ
ช่วยกันสอดคล้องดูแลถาวรวัตถุ โบราณสถาน  โบราณวัตถุ วันวาอารามฯลฯ ซึ้งเป็นสมบัติของชาติไม่
ให้ถูกทำลาย เป็นหูเป็นตาให้เจ้าหน้าที่ รวมทั้งพฤติกรรมเป็นแบบอย่างที่ดี ใช้ของไทย ส่งเสริมของไทย
และส่งเสริมชาวต่างชาติให้ใช้ของไทยซึงนับว่าเป็นการช่วยอนุรักษ์วันธรรมไทยให้คงสืบต่อไป

เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย

เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย

1.ความรักอิสรภาพหรือความเป็นไทย  คนไทยมีลักษณะนิสัยไม่ต้องการอยู่ในอำนาจบังคับของ
ผู้อื่นไม่ชอบกาควบคุมเข้มงวด  ไม่ชอบการกดขี่หรือให้ผู้อื่นเข้ามายุ่งเกี่ยวสั่งการในรายละเอียด
ในการทำงานและการดำเนินชีวิตส่วนตัว  คนไทยเป็นคนที่หยิ่งและรักศักดิ์ศรีของตนเอง  การบังคับ
น้ำใจกันหรือฝ่าฝืนความรู้สึกของกันและกัน

2.การย้ำการเป็นตัวของตัวเองหรือปัจเจกบุคคลนิยม  คือ  การให้คุณค่าในความเป็นตัวของ
ตัวเอง  ความนิยมนี้ส่วนหนึ่งมาจากอิทธิพลของพุทธศาสนาซึ่งย้ำความสำคัญของตัวบุคคลเป็น
พิเศษ  ถือว่าบุคคลจะเป็นอย่างไรย่อมแล้วแต่กรรมของบุคคลนั้นในอดีต  การย้ำสอนให้พึ่งตนเอง  
ทุกคนมีความเท่าเทียม  ส่วนการที่จะดีหรือชั่วนั้นอยู่ที่การกระทำของตนเองมิได้อยู่ที่ชาติกำเนิด

3.ความโอ่อ่า ลักษณะนี้สืบเนื่องมาจากความเชื่อมั่นและความยิ่งในเกียรติของตนเอง คนไทยนั้น
ถึงแม้ภายนอกจะดูมีฐานะต่ำ แต่ในใจจริงเต็มใจยอมรับว่าตนเองต่ำกว่าจริงๆ ถือว่าตนเองมี
ความสามารถเท่าเทียมกับผู้อื่นถ้าตนมีโอกาสเช่นเดียวกัน คนไทยไม่ยอมให้มีการดูถูกันง่ายๆและ
ถือว่าตนมีสิทธิเท่าเทียมกันกับผู้อื่นในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง 
เป็นต้น..

ลักษณะของวัฒนธรรมไทย มีดังนี้ (ต่อ)

2.อักษรไทยและภาษาไทย สังคมไทยมีอักษรใช้มานานตั้งแต่สมัยสุโขทัย 
โดยได้รับอิทธิพลจากของและได้รับการพัฒนาโดยพ่อขุนรามคำแหงมหาราชชัดเป็นเอกลักษณ์
ที่น่าภูมิใจ เพราะภาษาถือว่าเป็นอารยะธรรมขั้นสูง

3.ประเพณีไทย เป็นสิ่งแสดงถึงวิถีชีวิตของคนไทยทั้งในอดีตและปัจจุบัน  ซึ่งส่วนมากเกี่ยวข้องกับ
พระพุทธศาสนา  อาจมีคติลัทธิศาสนาอื่นผสมอยู่ด้วย  ซึ่งสืบเนื่องมาแต่โบราณ

4.วัฒนธรรมที่เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต  อันได้แก่ปัจจัยสี่ คือ เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย อาหาร 
และยารักษาโรค

5.ศิลปกรรมไทย  เป็นวัฒนธรรมที่เกิดจากการเพียรพยายามของมนุษย์  ในการปรุงแต่งวิถีชีวิตความ
เป็นอยู่ให้ดีขึ้น  ทำสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยสวยงาม  รวมทั้งเป็นอาหารใจด้วย  วัฒนธรรมในด้า
ศิลปกรรม

6.จรรยามารยาทและจิตใจของคนไทย  คนไทยมีลักษณะสุภาพอ่อนน้อม  ปรับตัวเข้ากับสังคมได้ดี  
มีการแสดงความเคารพแตกต่างไปจากสังคมอื่นๆเช่น  การยิ้ม  การทักทาย  การไหว้  การถวายความ
เคารพพระมหากษัตริย์  ด้านจิตใจ คนไทยได้รับอิทธิพลจากพระพุทธศาสนา  ทำให้คนไทยมีความ
เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่  มีความโอบอ้อมอารีต่อคนทั่วไป  เคารพผู้อาวุโส


ลักษณะของวัฒนธรรมไทย มีดังนี้

1.การมีพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ  สังคมไทยรับเอาพระพุทธศาสนาเป็นที่นับถือของ
ชาวไทย  มาตั้งแต่ก่อนสุโขทัย  คนไทยส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาถึง ๙๕หลักคำสั่งสอนสำคัญของพระพุทธศาสนาที่สำคัญคือ สอนให้ละเว้นความชั่ว  ทำความดี  ทำจิตใจให้บริสุทธิ์วิถีชีวิตของคนไทยจะมีพระพุทธศาสนามาเกี่ยวข้องเสมอ เช่น การบวช การแต่งงาน  การทำบุญขึ้นบ้านใหม่

ลักษณะของวัฒนธรรม

ลักษณะลักษณะของวัฒนธรรมของวัฒนธรรม

วัฒนธรรมไทยได้รับการพัฒนามาโดยลำดับ  อันเนื่องมาจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมทางสังคม  สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ  และความสามารถของสังคมไทย  จึงก่อให้เกิดการสร้างสรรค์หล่อรวมกันเป็นวัฒนธรรมซึ่งลักษณะเฉพาะเป็นวัฒนธรรมที่มีลักษณะเด่นๆ
หลายอย่าง



วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ความหมายของวัฒนธรรม2

ความหมายของวัฒนธรรม2
สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละสังคม
ในการดำเนินชีวิตของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่แสดงออกถึงความเจริญ
งอกงาม  ความเป็นระเบียบเรียบร้อย  ความกลมเกลียว  ความ
ก้าวหน้าคนส่วนใหญ่ยอมรับว่าเป็นสิ่งดีงาม  โดยสร้างเป็นกฎเกณฑ์
แบบแผน  เพื่อนำไปปฏิบัติให้เป็นไปตามรูปแบบเดียวกันถือเป็น 
“มรดกแห่งสังคม”  เพราะวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่มนุษย์ได้รับจาก
บรรพบุรุษหรือถ่ายทอดให้แก่อนุชนรุ่นหลัง  จนเป็นวิถีของสังคม 

(ความหมายของวัฒนธรรม.[ออนไลน์].http://e-learninghtml 
                       e-tech.ac.th/learninghtml/s1301/unit03.html)

ความหมายของวัฒนธรรม

ความหมายของวัฒนธรรม

รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และโครงสร้างเชิงสัญลักษณ์ที่ทำให้        
กิจกรรมนั้นเด่นชัดและมีความสำคัญวิถีการดำเนินชีวิต  
ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่ผลิตสร้างขึ้น  
ด้วยการเรียนรู้จากกันและกันและร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน 



(วัฒนธรรม.[ออนไลน์].http://th.wikipedia.org/wiki.)